หลวงพ่อเดิม ผู้ซึ่งได้รับการขนานนามและยกย่องเป็น “เทพเจ้าแห่งเมืองสี่แคว”


วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ข้อสอบเรื่องสารละลายกรดเเละเบส

1. ข้อใดเปลี่ยนสีอินดิเคเตอร์ เช่น กระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นเเดง
ก. กร
ข. เบส
ค. เกลือ
ง. เกลือเเละน้ำ

2. กรดไฮโดรคลอริก (HCI) มีประโยชน์อย่างไร
ก. ใช้ในการถลุงโลหะ
ข. ใช้เเก้ดินเปรี้ยว
ค. ใช้ในการทำสบู่
ง. ใช้ทำยาเเอสไพริน

3. สมบัติทั่วๆไปของสารละลายกรด คือข้อใด
ก. มีรสฝาด
ข. ทำปฎิกิริยากับเเมกนีเซียม หรือโลหะบางชนิดได้
ค. ผสมกับไขมันได้สบู่
ง. ถูกมือลื่นคล้ายสบู่

4. โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) มีประโยชน์อย่างไร
ก. ใช้แก้ดินเปรี้ยว
ข. ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตผงชูรส
ค. ใช้ในการทำสบู่
ง. ถูกทั้งข้อ ข เเละ ค

5. สมบัติทั่วๆไปของสารละลายเบส คือข้อใด
ก. มีรสเปรี้ยว
ข. มีสมบัติในการกัดได้
ค. เปลี่ยนสีอินดิเคเตอร์ เช่น กระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นเเดง
ง. มีรสฝาด








ขอบคุณ...ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล ให้การอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ โครงการร.ร.ในฝัน หลักสูตร การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้สื่อ ICT ที่โรงเรียนศรีนคร อ.ศรีนคร จ.สุโขทัย ปีที่ผ่านมา
http://www.thaigoodview.com/

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552

การกรอง
การกรอง คือ การแยกสารผสมที่มีสถานะเป็นของแข็งออกจากของเหลว โดยใช้กระดาษกรองซึ่งมีรูพรุนขนาดเล็ก ทำให้อนุภาคของของแข็งนั้นไม่สามารถผ่านกระดาษกรองได้ ส่วนอนุภาคของของเหลวจะผ่านกระดาษกรองได้ ซึ่งในชีวิตประจำวันเราจะคุ้นเคยกับการกรองในรูปของการใช้ผ้าขาวบางในการคั้นน้ำกะทิจากมะพร้าว แผ่นกรองอากาศในเครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์กรองน้ำสะอาดในเครื่องกรองน้ำ เป็นต้น


การตกตะกอน
การตกตะกอน คือ การแยกสารผสมที่เป็นของแข็งที่แขวนลอยอยู่ในของเหลว โดยมีหลักการที่สำคัญ คือ การนำสารผสมตั้งทิ้งไว้ เนื่องจากอนุภาคของแข็งที่แฝงอยู่นั้นมีน้ำหนัก ดังนั้นจึงตกตะกอนอยู่ที่ก้นภาชนะ จากนั้นรินอนุภาคของเหลวด้านบนออกจากอนุภาคของของแข็งจะทำให้ได้สารบริสุทธิ์ทั้งสองส่วน ตัวอย่างของผสมที่ใช้วิธีการแยกสารโดยการตกตะกอน คือ น้ำโคลน ประกอบด้วยส่วนของดินที่แขวนลอยในน้ำ เมื่อตั้งทิ้งไว้นานๆ อนุภาคของดินจะตกตะกอนอยู่ที่ก้นภาชนะ ส่วนน้ำจะใสขึ้นสามารถรินแยกออกจากกันได้
เพื่อเป็นการลดเวลาในการตกตะกอนของสารแขวนลอย นักวิทยาศาสตร์จึงได้คิดค้นเครื่องเหวี่ยง (centrifuge) แรงเหวี่ยงดังกล่าวจะทำให้ของแข็งที่แขวนลอยในของเหลวตกตะกอนได้ง่ายและเร็วขึ้น

รูปแสดงเครื่องเหวี่ยงที่ใช้ในการตกตะกอน

การตกผลึก


การตกผลึก
การตกผลึก คือ การแยกของผสมที่เป็นของแข็งที่มีสมบัติการละลายในตัวทำละลายต่างกันและได้ไม่เท่ากันทุกอุณหภูมิ มีหลักการ คือ เมื่อนำของผสมละลายในตัวทำละลายต้มสารละลายนั้นจนละลายหมด แล้วทิ้งให้อุณหภูมิลดลง สารที่ละลายน้อยกว่าจะอิ่มตัวแล้วตกผลึกแยกออกมาก่อน เช่น น้ำตาลกับเกลือซิลเวอร์ไนเตรตกับโพแทสเซียมไนเตรต การแยกเกลือโซเดียมคลอไรด์ออกจากน้ำทะเล

รูปแสดงตัวอย่างผลึกบางชนิด
การสกัดด้วยตัวทำละลาย
การสกัดด้วยตัวทำละลาย คือ การแยกสารโดยอาศัยสมบัติการละลายของสารในตัวทำละลาย ต้องคำนึงถึงตัวทำละลายที่เหมาะสมเพื่อให้ได้สารที่ต้องการในปริมาณมาก มีหลักการดังนี้
- เลือกตัวทำละลายที่เหมาะสมเพื่อสกัดให้ได้สารที่ต้องการออกมามากและต้องมีสิ่งเจือปนติดน้อยที่สุด และไม่ทำปฏิกิริยากับสารที่ต้องการสกัด
- กรณีที่ต้องแยกสารผสมที่มีองค์ประกอบปนกันหลายชนิด ต้องเลือกตัวทำละลายที่ละลายสารใดสารหนึ่งได้มากและอีกสารได้น้อยมาก เพื่อให้เจือปนกันน้อยที่สุด
- แยกสารที่ไม่ต้องการออกไป โดยกระบวนการแยกสารต่างๆ เช่น การกรอง เป็นต้น
- แยกสารที่ต้องการออกจากตัวทำละลาย
ซึ่งวิธีการนี้จะนิยมใช้สกัดสีจากธรรมชาติ สมุนไพร สกัดน้ำมันหอมระเหย เป็นวิธีการที่ประหยัดและปลอดภัย



การสร้างที่เก็บน้ำด้วยไม้ไผ่


เครื่องสานจากไม้ไผ่ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างอย่างไรก็ตามสามารถทำ ให้เป็นภาชนะสำหรับเก็บน้ำได้ โดยการนำมาฉาบด้วย “ฟลิ้นโค้ท” ซึ่งเป็น สารผสมที่ทำมาจากยางมะตอยและสารยึดเหนี่ยวหลายชนิด เป็นของเหลว ที่แห้งเร็วมีคราบเหนียว ผสมน้ำได้ แต่เมื่อแห้งแล้วไม่ละลายน้ำ ทนน้ำและ ทนทานต่อความร้อน เย็น ไม่ละลายเมื่อถูกแดดเหมือนยางมะตอย และไม่ ผุกรอบเหมือนชัน จึงมีความทนทานและมีราคาถูก ส่วนเครื่องสานไม้ไผ่ ควรสานให้ทึบที่สุด เพื่อให้ฉาบฟลิ้นโค้ทได้ง่าย
วัสดุและอุปกรณ์
1. เครื่องสานด้วยไม้ไผ่ตามขนาดที่ต้องการ
2. ฟลิ้นโค้ทชนิดผสมน้ำหาซื้อได้ตามร้านขายปุ๋ย ขายสีทาบ้าน หรือยาฆ่าแมลงหรือตามปั๊มน้ำมันเชลล์ทั่วไป
3. ผ้าฝ้ายเป็นผ้าเก่าหรือใหม่ก็ได้ หรือกระดาษสา ถ้าหาไม่ได้ก็ ใช้เศษกระดาษทั่วไปแทนก็ได้
4. แปรงสำหรับใช้ทา หรือจะใช้มือก็ได้
ภาพตัวอย่างเครื่องสาน

วิธีทาฟลิ้นโค้ทบนเครื่องสาน

เริ่มทางด้านในก่อนตามลำดับดังนี้
1. ใช้ฟลิ้นโค้ทผสมน้ำเล็กน้อยทาบาง ๆ ให้ทั่วเป็นชั้นแรก นำไป ผึ่งแดดให้พอหมาด
2. ใช้ฟลิ้นโค้ทล้วน ๆ ทาจนทั่วเป็นชั้นที่สอง ผึ่งแดดแห้งพอหมาด แล้วจึงทาชั้นที่สามให้ทึบ
3. เอาผ้าฝ้ายตัดเป็นชิ้นในขนาดที่ทำสะดวก ชุบน้ำให้เปียกจนทั่ว บีบน้ำทิ้งแล้วชุบฟลิ้นโค้ท แล้วบุด้านในให้ชายผ้าทับกันให้เรียบร้อย ค่อย ๆ ทำไปทีละชิ้นจนแล้วเสร็จ ถ้าเป็นกระดาษสาไม่ต้องชุบน้ำ เมื่อบุดังนี้ เสร็จแล้วรีบทาทันทีเป็นชั้นที่สี่ แล้วตากให้แห้งพอหมาด ๆ
4. ทาฟลิ้นโค้ทล้วน ๆ ทับให้ทั่วเป็นชั้นสุดท้าย
ด้านนอก : ทาฟลิ้นโค้ทล้วน ๆ ให้ทั่วสักสองชั้น โดยเว้นระยะผึ่ง แดดเหมือนด้านใน ทั้งสองด้านนี้ใช้เวลาประมาณ 4 ชม. เมื่อเสร็จเรียบร้อย ทุกอย่างแล้ว ให้ตากแดดทิ้งไว้สัก 1 วัน ก็นำมาใส่น้ำได้ น้ำจะไม่มีพิษหรือกลิ่นที่เป็นอันตราย ดื่มหรือใช้ได้ตามความต้องการ
ข้อดีของที่เก็บน้ำแบบนี้คือ ราคาถูกเพราะสานได้เอง มีน้ำหนักเบา ตกไม่แตก ทนทานต่อแดดฝน กันปลวกมอดได้ดีกว่าเครื่องสานอื่น ๆ และ ซ่อมแซมง่ายเมื่อเกิดการรั่วซึม
ข้อควรระวัง

เมื่อฟลิ้นโค้ทเปื้อนเสื้อผ้า ต้องรีบขยำน้ำทันที ถ้าปล่อยให้แห้งต้อง ซักด้วยน้ำมันก๊าซ อย่าใช้ภาชนะนี้ใส่น้ำมัน เพราะฟลิ้นโค้ทแบบผสมน้ำนี้ สามารถละลายได้ในน้ำมัน ฟลิ้นโค้ทที่เหลือใช้ควรเก็บไว้ในที่ปกปิดมิดชิด ถ้าเก็บดีจะนำมาใช้ได้อีก ไม้ไผ่ที่นำมาสานต้องมีอายุแก่พอเหมาะที่จะใช้ งานได้ดี เพื่อป้องกันมอด ฝีมือสานก็ต้องดีพอ และถ้าทำขนาดใหญ่ควร มีโครงแข็งแรงเพิ่มขึ้น เมื่อยังไม่แห้งสนิท อย่าให้ถูกน้ำหรือตากฝน
เพื่อนเกษตร 6(9), 2522

ที่มา
http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.tistr.or.th/t/publication/2/55/105-3.gif&imgrefurl=http://www.tistr.or.th/t/publication/page_area_show_bc.asp%3Fi1%3D55%26i2%3D26&usg=__pziOyn2SNXYVj6whiNf4ICl2Alg=&h=300&w=536&sz=19&hl=th&start=101&um=1&tbnid=PT8S2jbsTcxVxM:&tbnh=74&tbnw=132&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B3%26ndsp%3D20%26hl%3Dth%26sa%3DN%26start%3D100%26um%3D1
คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.ข้อจำกัดของการใช้เทคนิคโครมาโทกราฟี คือข้อใด
ก.ใช้ทดสอบสารตัวอย่างปริมาณน้อยๆ ไม่ได้
ข.ใช้แยกองค์ประกอบต่างๆ ในของผสมที่ไม่มีสีออกจากกันไม่ได้
ค.องค์ประกอบต่างๆ ในของผสมที่เคลื่อนที่ไปบนตัวดูดซับได้เกือบเท่ากัน จะแยกจากกันไม่ได้
ง.ถ้าแยกองค์ประกอบต่างๆ ในของผสมออกจากกันได้แล้ว จะสกัดสารเหล่านั้นออกจากตัวดูดซับไม่ได้

2.เมื่อใช้โครมาโทกราฟีกระดาษแยกสีผสมออกจากกันโดยใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย ปรากฎว่ามีสี 3 ชนิดแยกออกจากกันเรียงตามลำดับจากจุดเริ่มต้นดังนี้ แดง เหลือง และเขียว แสดงว่า
ก.สีแดงมีมวลโมเลกุลสูงที่สุด จึงเคลื่อนที่ได้ช้า
ข.สีเขียวละลายน้ำได้มากกว่า จึงเคลื่อนที่ได้ไกลที่สุด
ค.สีแดงมีสมบัติเป็นตัวดูดซับ จึงเคลื่อนที่ได้ช้า
ง.สีเขียวละลายน้ำได้น้อยมาก จึงเคลื่อนที่มาพร้อมๆ กับน้ำ
3.สารละลายที่ไม่สามารถใช้วิธีการแยกโดยการระเหยได้คือข้อใด
ก.สารละลายน้ำตาล
ข.สารละลายเกลือแกง
ค.สารละลายแอลกอฮอล์
ง.สารละลายแคลเซียมคลอไรด์
4.การแยกสารบริสุทธิ์ด้วยวิธีโครมาโทกราฟีอาศัยหลักการในเรื่องใด
ก.ความแตกต่างของการดูดซับ
ข.ความแตกต่างของสารในการละลาย
ค.ความแตกต่างของสารที่ใช้เป็นตัวทำละลาย
ง.ความแตกต่างของการละลายและการดูดซับ
5.ข้อใดไม่ใช่ความผิดพลาดในการแยกสารละลายด้วยวิธีโครมาโทกราฟี
ก.การใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย
ข.การหยดสารละลายเป็นจุดใหญ่เกินไป
ค.ความอิ่มตัวของระบบของตัวทำละลาย
ง.สารละลายที่ใช้ทดสอบมีความเข้มข้นเกินไป

ที่โรงเรียนบ้านห้วยทราย จ.เชียงใหม่ เมื่อเวลา 10.09 น. วันที่ 15 ก.ย. นายดวงฤทธิ์ เกติมา ผอ.โรงเรียนบ้านห้วยทราย นายอาทิตย์ เรืองกุล รอง ผอ.สำนักงานพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 และ คณะอาจารย์ พร้อมเพื่อน นักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยทราย ได้พากันยืนเรียงแถวเพื่อส่งและให้กำลังใจ ด.ช.หม่อง ทองดี อายุ 12 ปี เด็กสัญชาติพม่าที่ชนะการประกวดพับเครื่องบินกระดาษของประเทศ มีกำหนดออกเดินทางโดยรถตู้ไปกรุงเทพฯ เพื่อเข้าพักที่หอพักคุรุสภา ก่อนจะออกเดินทางไปร่วมแข่งขันพับ เครื่องบินกระดาษ ที่เมืองชิบะ ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 19-20 ก.ย.นี้ สำหรับการเดินทางออกจาก จ.เชียงใหม่ ผอ.โรงเรียนได้พาน้องหม่องจุดธูปไหว้เจ้าที่ศาลพระภูมิ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในโรงเรียน ระหว่างที่เดินขึ้นรถ น้องหม่องได้ถือพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขึ้นเหนือศีรษะ และเดินผ่านกลุ่มเพื่อนนักเรียนที่ตั้งแถวปรบมือและอวยพรขอให้ประสบความสำเร็จ

ด.ช.หม่อง กล่าวว่า รู้สึกดีใจและภูมิใจที่ทุกคนให้การสนับสนุนและดีใจมากที่ได้เป็นตัวแทนของประเทศไทยไปแข่งขัน อย่างไรก็ตาม การไปครั้งนี้ได้นำเอาภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ติดตัวไปแข่งขันด้วย ซึ่งจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุดและคว้าชัยชนะกลับมาประเทศไทยให้ได้

อย่างไรก็ตามผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 16 ก.ย. เวลา 21.30 น. น้องหม่องจะเดินทางถึงสนามบินสุวรรณภูมิ จากนั้นในเวลา 23.55 น. ออกเดินทางโดยสายการบิน เจแปน แอร์ไลน์ เที่ยวบิน JL 728 และจะถึงสนามบินนานาชาติ Kansai เมืองโอซากา ในเวลา 07.30 น. ของวันที่ 17 ก.ย. ก่อนจะออกเดินทางด้วยรถไฟไป Fokuyama เมืองฮิโรชิมา เข้าศึกษาตามสถานที่ต่าง ๆ รวมทั้งพิพิธภัณฑ์เครื่องบินกระดาษ และในเวลา 06.45 น. ของวันที่ 18 ก.ย. ก็จะเดินทางออกจากที่พักไปยังสนามบิน เพื่อออกเดินทางโดยเครื่องบิน มุ่งหน้าสู่กรุงโตเกียว เวลา 10.25 น. เดินทางถึงสนามบินโตเกียว เข้าพักที่โรงแรม Hotel Francs ในวันที่ 19 ก.ย. เวลา 09.00 น. จะออกจากโรงแรมไปยังสนามแข่งขัน ซึ่งช่วง เช้าจะฝึกซ้อมและชมการแข่งขันฯประเภททีม นักเรียนประถม จากนั้นในช่วงบ่ายจะเข้าร่วมการ แข่งขันฯประเภททีมผสม ในวันที่ 20 ก.ย. เวลา 09.00 น. ก็จะออกจากโรงแรมไปยังสนามแข่งขัน และช่วงเช้าก็จะฝึกซ้อม ประเภทบุคคลรอบคัด เลือก จากนั้นช่วงบ่าย ก็จะเข้าร่วมการแข่งขันฯ ประเภทบุคคล รอบชิงชนะเลิศ และเดินทางกลับ ถึง
เวลา 15.05 น. ของวันที่ 21 ก.ย.
ที่http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm

เครื่องกรองน้ำสะอาดแบบชาวบ้าน

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลศิริราช โดย ศจ.นพ. ร่มไทร สุวรรณิก ได้คิดค้นเครื่องกรองน้ำเสียให้เป็นน้ำบริสุทธิ์แบบประหยัด ด้วยวิธีการ ง่าย ๆ และลงทุนในราคา 300-400 บาท

1. อุปกรณ์

ก. โอ่งหรือถัง สูงประมาณ 18 นิ้ว (อาจจะมากกว่าก็ได้) จำนวน 3 ใบ
ข. สายยางใส เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 ซม. ยาว 2 เมตร
ค. ขั้วต่อสายยาง คอยปรับระดับน้ำให้ไหลมากหรือน้อย 2 อัน สายยางและต้นขั้วต่อสายยางนั้นอาจใช้ชุดของ สายน้ำเกลือนำมาใช้ได้เลย ซึ่งสามารถขอได้ตาม โรงพยาบาลต่าง ๆ ซึ่งมีที่ปรับเร่งให้ไหลเร็วหรือช้า ก็ได้

2. วิธีเจาะ

ก. เจาะตุ่มด้วยฆ้อนกับตะปู กว้างพอกับสายยาง
ข. โอ่งหรือถังใบที 1 เจาะ 1 รู สูงจากก้นโอ่ง 2 นิ้ว
ค. โอ่งหรือถังใบที่ 2 และ 3 เจาะ 2 รู รูล่างให้เสมอกับ โอ่ง รูบนวัดจากปากโอ่งลงมา 2-3 นิ้ว

รูปที่ 1 แสดงการเจาะตุ่มหรือโอ่ง ต่อสายยาง และการบรรจุกรวดและทราย

3. ต่อสายยาง

ก. ต่อสายยางจากรูที่ก้นโอ่งใบที่ 1 กับสายยางที่รูก้นโอ่ง ใบที่ 2 โดยใช้ขั้วต่อ
ข. ต่อสายยางจากรูที่ปากโอ่งใบที่ 2 กับสายยางที่รูก้น โอ่งใบที่ 3 โดยใช้ขั้วต่อเช่นเดียวกัน
ค. เสียบสายยางที่รูปากโอ่งใบที่ 3 และปล่อยสายยาง ทิ้งไว้
4. วิธีบรรจุกรวดและทราย
ก. กรวดและทรายละเอียดที่ใช้ต้องล้างให้สะอาด
ข. วิธีบรรจุกรวดและทรายละเอียดในโอ่งใบที่ 2 และ 3 เหมือนกัน
ค. ใส่กรวดลงก่อนให้สูงพอมิดสายยาง เพื่อกันไม่ให้ ทรายเข้าไปอุดรูสายยาง
ง. แล้วใส่ทรายละเอียดลงไปให้ความสูงของทรายอยู่ใต้ รูบนประมาณ 1 นิ้ว

5. การยกระดับ ช่วยให้การไหลของน้ำดีขึ้น และป้องกันการไหล ย้อนกลับ

ก. โอ่งใบที่ 1 สูงจากระดับพื้น 20 นิ้ว
ข. โอ่งใบที่ 2 สูงจากระดับพื้น 10 นิ้ว
ค. โอ่งใบที่ 3 สูงจากระดับพื้น 3 นิ้ว

รูปที่ 2 ขั้นตอนของการกรองน้ำให้สะอาด

6. วิธีกรอง

ก. เทน้ำลงในโอ่งใบที่ 1 ใส่คลอรีนประมาณ 1 ช้อนชาและแกว่งสารส้ม (น้ำที่เทลงในโอ่งจะเป็นน้ำที่เสีย คือ สกปรกซึ่งอาจนำมาจากตามแม่น้ำลำคลอง)
ข. น้ำจะถูกกรองโดยโอ่งใบที่ 2 ผ่านกรวดและทรายเอ่อ ขึ้นสวนทางกับแรงดึงดูดของโลก และไหลออกทาง สายยางที่ปากโอ่งใบที่ 2 ไปยังก้นโอ่งใบที่ 3
ค. น้ำจะถูกกรองจากโอ่งใบที่ 3 เช่นเดียวกับโอ่งใบที่ 2
ง. น้ำที่ออกจากโอ่งใบที่ 3 เราดื่มได้เลย จำนวนน้ำที่ได้ ประมาณ 60-70 ลิตรต่อวัน

7. วิธีล้างโอ่งกรอง

ถอดสายยางตรงขั้วต่อออก ปล่อยน้ำจากก้นโอ่งกรองที่ 2 และ 3 ออกจนหมดน้ำขุ่นเท่านั้น
ด้วยวิธีการง่าย ๆ เช่นนี้ เราก็สามารถได้น้ำที่สะอาด น้ำที่ ผ่านขั้นตอนเหล่านี้มาแล้วสามารถนำไปดื่มได้ทันที
นอกจากจะช่วยให้ประโยชน์แก่ผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม แล้ว เครื่องกรองน้ำแบบง่าย ๆ นี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ดีสำหรับผู้ที่ บ้านอยู่ตามริมแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่น่าใช้มากที่สุด คือผู้ที่อาศัยตามหมู่บ้านที่สูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ หรือถ้าอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม อย่างใกล้ชิด เช่น หมู่บ้านจัดสรร หรือหมู่บ้านที่มีโครงสร้างสนิทสนมกัน มากตามแบบไทย ๆ ก็อาจดัดแปลงร่วมใจกันสร้างเครื่องกรองน้ำสำหรับ ชุมชนขนาดย่อมได้ โดยช่วยกันสละเงินคนละเล็กคนละน้อย แล้วช่วยกันดู แลรักษา ตัวอย่างที่ทำกันมาแล้วเช่น เช่นที่อำเภอหัวไผ่ จังหวัดอ่างทอง และ ที่โรงเรียนสลัมคลองเตย ซึ่งปรากฏว่า มีน้ำสะอาดบริโภคกันอย่างทั่วถึง

โครงการเกลือคุณภาพ น้ำปลาคุณภาพ น้ำดื่มสะอาด ศิริราช 21

ที่มา http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.tistr.or.th/t/publication/2/55/105-3.gif&imgrefurl=http://www.tistr.or.th/t/publication/page_area_show_bc.asp%3Fi1%3D55%26i2%3D26&usg=__pziOyn2SNXYVj6whiNf4ICl2Alg=&h=300&w=536&sz=19&hl=th&start=101&um=1&tbnid=PT8S2jbsTcxVxM:&tbnh=74&tbnw=132&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B3%26ndsp%3D20%26hl%3Dth%26sa%3DN%26start%3D100%26um%3D1

วิธีการกลั่นลำดับส่วน


หอกลั่นน้ำมันปิโตรเลีย
ปิโตรเลียม หรือน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่ได้จากหลุมผลิตที่เจาะพบใต้พิภพ จะต้องผ่านกรรมวิธีก่อนนำมาใช้ เช่น ปิโตรเลียม จากฐานขุดเจาะในทะเล จะส่งผ่านไปแยกแก๊ส น้ำและสิ่งสกปรกออกจากน้ำมันดิบแล้วจึงถูกส่งผ่านไปยังสถานีแยกปิโตรเลียมที่ชายฝั่ง ที่สถานีนี้ปิโตรเลียมจะถูกแปรสภาพให้เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปชนิดต่าง ๆ ตามต้องการเพื่อความสะดวกและเหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ การแยกน้ำมันดิบคือการแยกส่วนประกอบน้ำมันดิบด้านกายภาพ ซึ่งส่วนใหญ่จะแยกโดยวิธีการกลั่นลำดับส่วน

กระบวนการกลั่นแยกส่วน
ปิโตรเลียมจะถูกส่งผ่านเข้าไปในท่อเหล็กซึ่งเรียงอยู่เป็นแถวในเตาเผาและมีความร้อนขนาด 315 - 371 องศาเซลเซียส หลังจากนั้น น้ำมันดิบและไอน้ำร้อนจะไหลผ่านไปในหอกลั่นบรรยากาศ ซึ่งมีถาดเรียงกันเป็นชั้น ๆ หลายสิบชั้น
ไอร้อนที่จะกลั่นตัวเป็นของเหลวในถาดชั้นใด (อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 600องศาเซลเซียส )ตามอุณหภูมิของจุดเดือดของน้ำมันในส่วนนั้น ชั้นยอดสุดซึ่งอุณหภูมิต่ำสุดจะเป็นแก๊ส รอง ๆ ลงไปจะเป็นเบนซิน น้ำมันก๊าด
น้ำมันดีเซล น้ำมันเตาน้ำมันล่อลื่น และยางมะตอย ตามลำดับ
ที่มาhttp://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.damrong.ac.th/krukay/lesson3/images/lesson3_data3_057.jpg&imgrefurl=http://www.damrong.ac.th/krukay/lesson3_data3_16.html&usg=__zHHauqDnqzGH09h8VH1r7AVbHLw=&h=373&w=300&sz=34&hl=th&start=16&tbnid=RoqUHTk1JGvOyM:&tbnh=122&tbnw=98&prev=/images%3Fq






ที่มาhttp://61.7.158.13/kan_cai3/PhysicNuclear/index.htm

มะม่วงหาว มะนาวโห่ ช่วยรักษาโรค

มะม่วงหาว มะนาวโห่ ช่วยรักษาโรค































































ผลไม้สมุนไพร มะม่วงหาว มะนาวโห่ ช่วยรักษาโรคเป็นผลไม้สมุนไพร ช่วยซ่อมร่างกาย รับประทานสด ๆ วันละ 5-7 ลูก สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคปอด หัวใจ มะเร็ง ถุงลมโป่งพอง เบาหวาน ไต เก๊าท์ ไทรอยด์ ช่วยขยายหลอดเลือด เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง มีหลายท่านว่ากันว่าอาการป่วยโรคดังกล่าว จะดีขึ้นเรื่อย ๆ และสุขภาพดีขึ้นมาก ๆ เทศบาลตำบลบางนกแขวก ช่วยเผยแพร่ให้ทุกท่านได้ทราบ รับประทานดู ภาพมะม่วงหาว มะนาวโห่ที่มาของเทศบาลตำบลบางนกแขวกอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงครามhttp://www.bangnokkweak.go.th/default.php?modules=news&data=detail&ItemOfPage=10&page=2&Id=27

การจำแนกสารรอบตัว


1. ถ้าใช้สถานะของสารเป็นเกณฑ์ สามารถจัดกลุ่มได้


3 กลุ่มดังนี้1.1 สารที่มีสถานะเป็นของแข็ง


1.2 สารที่มีสถานะเป็นของเหลว


1.3 สารที่มีสถานะเป็นก๊าซ


2. ถ้าใช้สารเป็นเกณฑ์ สามารถจัดได้ 2 กลุ่มคือ สารเนื้อเดียวสารเนื้อ และประสม


2.1 สารเนื้อเดียว หมายถึง สารชนิดเดียวหรือสาร 2 ชนิดผสมกันอยู่อย่างกลมกลืนกัน


2.2 สารเนื้อผสม หมายถึง สารตั้งแต่ 2 ชนิดผสมกันแต่เนื้อสารไม่กลมกลืนกัน


สารละลายสารละลาย หมายถึง สารที่ไม่บริสุทธิ์ตั้งแต่ 2 ชนิดมารวมกัน แล้วเกิดละลายเป็นเนื้อเดียวกัน


สารละลาย มี 3 ชนิดคือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ


สารละลายเข้มข้น หมายถึง สารละลายที่มีปริมาณตัวถูกทำลายมาก


สารละลายเจือจาง หมายถึง สารละลายที่มีปริมาณตัวถูกทำลายน้อย


สารละลายอิ่มตัว หมายถึง สารละลายที่ไม่สามารถละลายตัวถูกละลายได้อีกสารละลายอิ่มตัวยวดยิ่ง หมายถึง สารละลายที่มีตัวถูกละลายอยู่ในปริมาณที่เกินกว่าอัตราที่ละลาย ได้ที่อุณหภูมิห้องสารบริสุทธิ์


สารบริสุทธิ์ หมายถึง สารเนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบเพียงชนิดเดียว จึงมีสมบัติเหมือนกันตลอด สารที่ใช้ในบ้าน


1.สารที่เป็นกรด หมายถึง สารที่สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเปลี่ยนเป็นสีแดงแต่ไม่เปลี่ยน สีกระดาษลิตมัสสีแดง


2.สารที่เป็นเบส หมายถึง สารที่สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงินแต่ไม่เปลี่ยนสีกระดาษ ลิตมัสสีน้ำเงิน


3.สารที่เป็นกลาง หมายถึง สารที่ไม่สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสทั้ง 2 สีที่มา
http://www.geocities.com/sci123th/m3.html












ที่มาhttp://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.corrosionsource.com/handbook/periodic/periodic_table.gif&imgrefurl=http://blog.hunsa.com/piyanunthancha/cat/14801&h=480&w=580&sz=19&tbnid=G4wY8RtD2Q3AMM:&tbnh=111&tbnw=134&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2598%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B8&hl=th&usg=___JmxKLQmszAiPp10-mNzkXgAQxI=&ei=z0acSoiAEYuNkAWjzcG3Dw&sa=X&oi=image_result&resnum=6&ct=image

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มีตรี เมนเดเลเยฟ บิดาแห่งตารางธาตุตารางธาตุ

คือ ตารางที่ใช้แสดงธาตุเคมี คิดค้นขึ้นโดยนักเคมีชาวรัสเซีย ดมีตรี เมนเดเลเยฟ ในปี พ.ศ. 2412[1] จากการสังเกตว่าเมื่อนำธาตุต่างๆมาเรียงตัวลำดับเลขอะตอม คุณสมบัติต่าง ๆ ของธาตุที่นำมาเรียงนั้นจะมีลักษณะคล้ายกันเป็นช่วง ๆ ซึ่งในปัจจุบันตารางธาตุได้เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนวิชาเคมีด้วยเริ่มต้นจาก จอห์น นิวแลนด์ส ได้พยายามเรียงธาตุตามมวลอะตอม แต่เขากลับทำให้ธาตุที่มีสมบัติต่างกันมาอยู่ในหมู่เดียวกัน นักเคมีส่วนมากจึงไม่ยอมรับตารางธาตุของนิวแลนด์ส ต่อมา ดมีตรี เมนเดเลเยฟ จึงได้พัฒนาโดยพยายามเรียงให้ธาตุที่มีสมบัติเหมือนกันอยู่ในหมู่เดียวกัน และเว้นช่องว่างไว้สำหรับธาตุที่ยังไม่ค้นพบ พร้อมกันนั้นเขายังได้ทำนายสมบัติของธาตุใหม่ไว้ด้วย โดยใช้คำว่า เอคา (Eka) นำหน้าชื่อธาตุที่อยู่ด้านบนของธาตุที่ยังว่างอยู่นั้น เช่น เอคา-อะลูมิเนียม (ต่อมาคือธาตุแกลเลียม) เอคา-ซิลิคอน (ต่อมาคือธาตุเจอร์เมเนียม) แต่นักเคมีบางคนในยุคนั้นยังไม่แน่ใจ เนื่องจากว่าเขาได้สลับที่ธาตุบางธาตุโดยเอาธาตุที่มีมวลอะตอมมากกว่ามาไว้หน้าธาตุที่มีมวลอะตอมน้อยกว่า ดมีตรีได้อธิบายว่า เขาต้องการให้ธาตุที่มีสมบัติเดียวกันอยู่ในหมู่เดียวกัน เมื่อดมีตรีสามารถทำนายสมบัติของธาตุได้อย่างแม่นยำ และตารางธาตุของเขาไม่มีข้อน่าสงสัย ตารางธาตุของดมีตรีก็ได้รับความนิยมจากนักเคมีในสมัยนั้นเป็นต้นมา

ที่มาth.wikipedia.org/wiki/ตารางธาตุ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น