ดาวเทียม GMS-5 (Geostationary Meteorological Satellite 5) ใช้ระบบ VISSR (Visible and Infrared Spin Scan Radiometer) เพื่อใช้ตรวจ สอบพื้นผิวโลก ในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น คือ 0.55 - 1.05 ไมโครเมตร มีรายละเอียดของภาพ 1.25 กม. ช่วงคลื่นอินฟราเรด 10.5 - 12.5 ไมโครเมตร และช่วงคลื่น 6.2 - 7.6 ไมโครเมตร มีรายละเอียดของภาพ 5 กม. มีระบบ Weathersensor 200 ที่รับข้อมูลโดยตรงจากดาวเทียม GMS-5 ซึ่งโคจรที่ระดับความสูง 35,800 กม. ในวงโคจรค้างฟ้า เหนือเส้นศูนย์สูตร ณ ตำแหน่งลองจิจูด 140 องศาตะวันออก ระบบนี้สามารถแสดงอุณหภูมิ และความหนาแน่นของเมฆหมอกด้วยการใช้ระดับสี ดาวเทียม GMS-5 สำรวจครอบคลุมบริเวณย่านมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และทางเอเชีย โดยเหตุที่สภาพภูมิอากาศในย่านมหาสมุทร และเอเชียมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นระบบนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับ งานด้านการบิน (Aviation) การศึกษา (Education) และการป้องกันภัยพิบัติ (Disaster prevention) ข้อมูลที่ได้รับสามารถนำมาใช้สำหรับงานวิจัยและการสาธิตต่าง ๆ ระบบ Weathersensor 200 ถูกออกแบบมาเพื่ออำนวยประโยชน์ต่อการรับข้อมูลของสภาพภูมิอากาศ ล่าสุด ณ เวลา และบริเวณที่ต้องการ
ดาวเทียม NOAA (National Oceanographic and Atmospheric Administration) โคจรที่ระดับความสูงประมาณ 850 กม. ในวงโคจรแบบ สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ ทำการถ่ายภาพด้วยระบบ AVHRR (Advanced Very High Resolution Radiometer) ในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น 2 ช่วงคลื่น และช่วงคลื่นความร้อน 2 ช่วงคลื่น ได้แก่ 0.55 - 0.90 ไมโครเมตร, 0.725 - 1.0 ไมโครเมตร, 10.5 - 11.5 ไมโครเมตร และ 3.55 - 3.93 ไมโครเมตร นอกจากนี้ยังได้มีการเพิ่มช่วงคลื่นความร้อนช่วงที่ 3 เพื่อใช้ในการหาค่าอุณหภูมิพื้นผิว มีรายละเอียดของภาพ 1.1 กม. ในแนวดิ่ง ความกว้างของแนวภาพ 2,800 กม. บันทึกข้อมูลวันละ 2 ครั้ง ทั้งกลางวันและกลางคืน นอกจากนี้มีระบบ TOVS (TIROS Operational Vertical Sounder) ใช้ในการคำนวณค่าอุณหภูมิของชั้นบรรยากาศในแนวดิ่ง แยกได้เป็น 3 ระบบย่อย คือ 1. HIRS/2 ( High Resolution Infrared Radiometer )
2. SSU ( Stratospheric Sounding Unit)
3. MSU ( Microwave Sounding Unit )
ที่มา :
http://http://nuaom086.blogspot.com/2009_12_01_archive.htmlอุณหภูมิเป็นสารประกอบสำคัญยิ่งอันหนึ่งในวิชาอุตุนิยมวิทยา นักอุตุนิยมวิทยาต้องการทราบอุณหภูมิของอากาศตามระดับต่างๆ ตั้งแต่ผิวพื้นโลกขึ้นไปยังระดับสูงถึง ๒๐ กิโลเมตรหรือสูงกว่านั้น การวัดอุณหภูมิที่พื้นโลกอาจจะกระทำได้หลายวิธีด้วยกันวิธีที่ปฏิบัติกันมากที่สุดคือการใช้เทอร์มอมิเตอร์ ซึ่งมีของเหลว เช่น ปรอทบรรจุในหลอดแก้วคล้ายๆกับการวัดอุณหภูมิอย่างอื่นๆ บางครั้ง เมื่อต้องการทราบผลการบันทึกอุณหภูมิตลอดชั่วโมง หรือตลอดวันหรือนานกว่านั้นเราก็ต้องใช้เครื่องบันทึกอุณหภูมิได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งเรียกว่า "เทอร์มอกราฟ" (thermograph) นอกจากการตรวจอุณหภูมิดังกล่าวแล้ว นักอุตุนิยมวิทยายังต้องการทราบว่าในวันหนึ่งๆ อุณหภูมิของอากาศจะร้อนสูงสุดและเย็นต่ำสุดเท่าใด ในการนี้เราใช้เทอร์มอมิเตอร์สูงสุด (maximum thermometer) และเทอร์มอมิเตอร์ต่ำสุด (minimum thermometer) สำหรับตรวจค่าอุณหภูมิที่เราต้องการได้ เราอาจเปลี่ยนจากมาตราหนึ่งไปอีกมาตราหนึ่งได้ โดยสูตรต่อไปนี้ (๑) ๙ ๕ (...°ซ.) + ๓๒ = .......°ฟ.
ตัวอย่าง ให้เปลี่ยน ๓๐ °ซ.เป็นองศาฟาเรนไฮต์
๙ ๕ (๓๐) + ๓๒ = ๕๔ + ๓๒
= ๘๖ °ฟ.
(๒) ๕ ๙ (...°ฟ.) - ๓๒ = .......°ซ.
ตัวอย่าง ให้เปลี่ยน ๕๙ °ฟ.เป็นองศาเซลเซียส
๕ ๙ (๕๙-๓๒) = ๕
๙ (๒๗) = ๑๕ °ซ.
การวัดความเร็วและทิศทางของลม ลม คือการเคลื่อนไหวของอากาศ ถ้าลมแรงก็หมายถึงว่ามวลของอากาศเคลื่อนตัวไปมากและเร็วในอุตุนิยมวิทยา การวัดลมจำต้องวัดทั้งทิศของลมและอัตราหรือความเร็วของลม สำหรับการวัดทิศของลมนั้นเราใช้ศรลม (wind vane) ส่วนการวัดความเร็วของลม เราใช้เครื่องมือที่เรียกว่า "อะนีมอมิเตอร์"(anemometer) ซึ่งมีหลายชนิด แต่ส่วนมากใช้แบบใบพัดหรือกังหัน หรือใช้แบบถ้วยกลมสามใบและมีก้านสามก้านต่อมารวมกันที่แกนกลาง จากแกนกลางจะมีแกนต่อลงมายังเบื้องล่าง เมื่อกังหันหมุนจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้เข็มที่หน้าปัดชี้แสดงความเร็วของลมคล้ายๆ กับหน้าปัดที่บอกความเร็วของรถยนต์ การวัดความเร็วและทิศของลม อาจทำได้โดยใช้เครื่องมืออีกชนิดหนึ่งเรียกว่า "ใบพัดลม" ซึ่งสามารถวัดความเร็วและทิศได้พร้อมกัน ในการวัดความเร็วของลมมีหน่วยที่ใช้กันอยู่หลายหน่วย แล้วแต่ว่าผู้ใช้จะนิยมและสะดวกที่จะใช้หน่วยใด เช่น นอต หรือไมล์ทะเลต่อชั่วโมง กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไมล์ (บก) ต่อชั่วโมง นอกจากเครื่องวัดลมชนิดดังกล่าวแล้ว ยังมีเครื่องบันทึกความเร็วและทิศของลมอยู่ตลอดเวลาด้วย เครื่องบันทึกลมนี้เรียกว่า อะนีมอกราฟ (anemograph) ซึ่งสามารถบันทึกความเร็วและทิศของลมได้ตามที่เราต้องการ[
กลับหัวข้อหลัก]
เครื่องวัดทิศทางและความเร็วของลมแบบใบพัด
มาตราลมโบฟอร์ต เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๘ พลเรือเอก เซอร์ ฟรานซิสโบฟอร์ต (Admiral Sir Francis Beaufort, ค.ศ. ๑๗๗๔-๑๘๕๗, ชาวอังกฤษ) แห่งราชนาวีอังกฤษได้พัฒนามาตราส่วนสำหรับคาดคะเนความเร็วของลมไว้ใช้ในการเดินเรือใบ เรียกว่า มาตราลมโบฟอร์ต (Beau-fort wind scale) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไป และแบ่งกำลังออกเป็น ๑๓ ชั้น คือ ตั้งแต่ ๐ ถึง ๑๒
ปริมาณน้ำฝนเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสิ่งหนึ่งในอุตุนิยมวิทยา เพราะน้ำฝนเป็นปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการกสิกรรมและอื่นๆ พื้นที่ใดจะอุดมสมบูรณ์และสามารถทำการเพาะปลูกได้หรือจะเป็นทะเลทรายก็ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในบริเวณนั้น เราวัดปริมาณน้ำฝนตามความสูงของจำนวนฝนที่ตกลงมาจากท้องฟ้าโดยให้น้ำฝนตกลงในภาชนะโลหะซึ่งส่วนมากเป็นรูปทรงกระบอก มีเส้นผ่านศูนย์กลางของปากกระบอกเป็นขนาดจำกัด เช่น ปากกระบอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ๘ นิ้ว หรือประมาณ ๒๐ เซนติเมตร ฝนจะตกผ่านปากกระบอกลงไปตามท่อกรวยสู่ภาชนะรองรับน้ำฝนไว้ เมื่อเราต้องการทราบปริมาณน้ำฝน เราก็ใช้ไม้บรรทัดหยั่งความลึกของฝน หรืออาจใช้แก้วตวงที่มีมาตราส่วนแบ่งไว้สำหรับอ่านปริมาณน้ำฝน เป็นนิ้วหรือเป็นมิลลิเมตร สำหรับประเทศไทยวันใดที่มีฝนตก ณ แห่งใด หมายความว่ามีปริมาณฝนตก ณ ที่นั้นอย่างน้อย ๐.๑ มิลลิเมตร ขึ้นไป เพราะฉะนั้นในเดือนที่มีฝนตกโดยมีจำนวนวันเท่ากันก็ไม่จำเป็นจะต้องมีปริมาณน้ำฝนเท่ากัน และควรจะทราบด้วยว่า เมื่อทราบความสูงของน้ำฝน ณ ที่ใดแล้ว ก็อาจจะประมาณจำนวนลูกบาศก์เมตรของน้ำฝนได้ถ้าทราบเนื้อที่ของบริเวณที่มีฝนตก ในการรายงานปริมาณน้ำฝนนั้น จะรายงานว่าฝนตกเล็กน้อย ฝนตกปานกลาง ฝนตกหนัก หรือฝนตกหนักมาก แต่การที่จะตั้งเกณฑ์สากลที่เรียกว่าฝนตกเล็กน้อย หรือตกปานกลางเป็นจำนวนเท่าใดหรือกี่มิลลิเมตรนั้น ไม่อาจจะกระทำได้ เพราะเหตุว่าสภาพของฝนแต่ละประเทศนั้นมีปริมาณไม่เหมือนกัน เครื่องวัดน้ำฝนมีอยู่หลายชนิด เช่น ๑. เครื่องวัดน้ำฝนแบบธรรมดาหรือแบบแก้วตวง (ordinary raingage) ๒. เครื่องวัดน้ำฝนแบบบันทึก (recording raingage) เป็นชนิดที่มีปากกาเขียนด้วยหมึก สำหรับบันทึกปริมาณน้ำฝนไว้เป็นเวลา ๒๔ ชั่วโมง หรือตลอดสัปดาห์หรือนานกว่านี้ ซึ่งมีทั้งแบบชั่ง (weighing raingage) และแบบกาลักน้ำ (siphon raingage)
การวัดความชื้นหรือปริมาณไอน้ำในบรรยากาศมีความสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งเช่นกัน เพราะปริมาณไอน้ำเป็นสิ่งที่ช่วยบอกความเป็นไปของอากาศปัจจุบันและล่วงหน้าได้ด้วย การวัดความชื้นในบรรยากาศวัดได้หลายวิธีดังนี้ ๑. การวัดความชื้นสัมพัทธ์ (relative humidity) คือการวัดอัตราส่วน (เป็นร้อยละ) ของจำนวนไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศในขณะนั้น ต่อจำนวนไอน้ำที่อาจจะมีอยู่ได้ เมื่ออากาศนั้นอิ่มตัวด้วยไอน้ำที่อุณหภูมิเดียวกัน ๒. การวัดความชื้นสัมบูรณ์ (absolute humidity) คือการวัดปริมาณของไอน้ำในอากาศเป็นกรัมต่ออากาศชื้นหนัก ๑ กิโลกรัม ๓. การวัดอัตราส่วนผสม (mixing ratio) คือการวัดปริมาณของไอน้ำในอากาศเป็นกรัมต่ออากาศแห้งหนัก ๑ กิโลกรัม โดยที่ปริมาณไอน้ำในอากาศมีจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับน้ำหนักของอากาศ ดังนั้นจะเห็นว่า ความชื้นสัมบูรณ์ และอัตราส่วนผสม เป็นตัวเลขใกล้เคียงกันและบางครั้งอาจใช้แทนกันได้ ๔. การวัดจุดน้ำค้าง (dew point) คือการวัดอุณห-ภูมิของอากาศ เมื่ออากาศนั้นเย็นลงจนถึงจุดอิ่มตัวโดยความกดอากาศและปริมาณไอน้ำไม่เปลี่ยนแปลง น้ำค้าง (dew) คือไอน้ำซึ่งกลั่นตัวบนต้นไม้ หญ้าหรือวัตถุซึ่งอยู่ตามพื้นดิน และจะเกิดขึ้นเมื่ออากาศมีอุณหภูมิเย็นลงต่ำกว่าจุดน้ำค้าง อุณหภูมิของจุดน้ำค้างมีประโยชน์สำหรับแสดงลักษณะอากาศว่าชื้นหรือแห้งมากน้อยเท่าใด ถ้าอุณหภูมิของอากาศใกล้เคียงกับอุณหภูมิของจุดน้ำค้างก็แสดงว่าไอน้ำในอากาศพร้อมที่จะกลั่นตัวเป็นเมฆหรือหมอกได้ง่าย ความชื้นสัมพัทธ์คือตัวเลข (เป็นร้อยละ) ซึ่ง แสดงถึงความสามารถของอากาศที่จะรับจำนวนไอน้ำไว้ได้ ณ อุณหภูมิที่เป็นอยู่ขณะนั้น หรือแสดงว่าในขณะนั้นอากาศอยู่ใกล้กับการอิ่มตัวเพียงใด เมื่อมีไอน้ำอยู่ในบรรยากาศเต็มที่เราเรียกว่า "อากาศอิ่มตัว" (saturation) คืออากาศมีความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ ๑๐๐ นั่นเอง จากการทดลองเราทราบว่าในอากาศอิ่มตัว ๑ ลูกบาศก์เมตรที่ ๒๐° ซ. มีจำนวนไอน้ำ ๑๗.๓ กรัมแต่ถ้าวันใดที่อุณหภูมิ ๒๐° ซ. มีจำนวนไอน้ำอยู่เพียง ๑๐ กรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะหาความชื้นสัมพัทธ์ได้ ดังนี้
ความชื้นสัมพัทธ์ = ๑๐.๐๑๗.๓ x ๑๐๐ = ๕๘%
๑. ไซโครมิเตอร์แบบตุ้มแห้ง - ตุ้มเปียก(dry and wet bulb psychrometer) ซึ่งประกอบด้วยเทอร์มอมิเตอร์สองอัน อันหนึ่งเป็นเทอร์มอมิเตอร์ธรรมดาหรือเรียกว่า "ตุ้มแห้ง" อีกอันหนึ่งเป็นเทอร์มอมิเตอร์ซึ่งมีผ้ามัสลินหรือผ้าเปียกหุ้มที่ตุ้ม ซึ่งมีสายต่อไปยังถ้วยน้ำข้างใต้เรียกว่า "ตุ้มเปียก" เมื่อเปิดพัดลมลมจะพัดทำให้ระดับปรอทของตุ้มเปียกลดลงเนื่องจากการระเหยของน้ำ อุณหภูมิต่ำสุดที่ปรอทลดลงนี้เรียกว่า "อุณหภูมิตุ้มเปียก" (wet bulb temperature)จากค่าของอุณหภูมิตุ้มแห้ง และตุ้มเปียกนี้ สามารถคำนวณหาความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศได้จากค่าในตารางซึ่งได้คำนวณไว้แล้ว
๒. ไฮโกรกราฟ (hygrograph) คือ เครื่องบันทึกค่าความชื้นของอากาศลงบนกระดาษกราฟ โดยใช้เส้นผมของมนุษย์หรือขนของสัตว์บางชนิด นำมาขึงให้ตึงและต่อกับคานกระเดื่องและแขนปากกา เส้นผมยืดและหดตัวตามการเปลี่ยนแปลงของความชื้นของบรรยากาศ คือ จะยืดตัวเมื่อความชื้นสัมพัทธ์มีค่าสูงขึ้น การยืดและหดของเส้นผมนี้จะทำให้คานกระเดื่อง และแขนปากกาเขียนเส้นบนกระดาษกราฟและแสดงตัวเลขของความชื้นของอากาศ เครื่องบันทึกที่สามารถบันทึกอุณหภูมิ ความกด และความชื้นสัมพัทธ์ ได้พร้อมกัน ๓ อย่างนี้เรียกว่า "บารอเทอร์มอ ไฮโกรกราฟ" (barothermo-hygrograph)
จากวิวัฒนาการดาวเทียมในยุคอวกาศ นักอุตุนิยมวิทยาได้มีเครื่องมืออย่างดีเลิศอีกอย่างหนึ่งในการตรวจอากาศ คือ ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา (meteorological satellite) ตามธรรมดาแล้วสถานีตรวจอากาศแห่งหนึ่งๆ สามารถตรวจสารประกอบอุตุนิยมวิทยาได้เพียงบริเวณเล็กๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบางแห่ง เช่น ในมหาสมุทร ทะเลทราย หรือในบริเวณขั้วโลกด้วยแล้ว จะทำการตรวจอากาศได้น้อยมาก เพราะบริเวณเหล่านั้นไม่ค่อยจะมีมนุษย์อาศัยอยู่ ข้อมูลที่ได้รับจากดาวเทียมนี้จึงเป็นประโยชน์ในการช่วยพยากรณ์อากาศและช่วยในการจับภาพพายุไต้ฝุ่นหรือเฮอร์ริเคนได้เป็นอย่างดี ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยามีกล้องสำหรับถ่ายภาพเมฆ และสามารถส่งภาพกลับมายังสถานีรับที่พื้นดินได้ดาวเทียมสามารถถ่ายภาพเมฆได้เป็นบริเวณกว้างทั้งในมหาสมุทรและแผ่นดิน ยิ่งกว่านั้นยังเป็นเครื่องมือเฝ้าดูการเกิดของพายุได้ด้วย เช่น การเกิดพายุไต้ฝุ่นเป็นต้น นอกจากนี้ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยายังสามารถวัดรังสีอินฟราเรดที่แผ่ออกไปจากโลกได้ และยังจะช่วยในการตรวจฟ้าแลบ การเคลื่อนตัวของเมฆ และการวัดอุณหภูมิตามระดับต่างๆ ได้ด้วย นอกจากนี้ดาวเทียมยังมีประโยชน์ในด้านวิชาภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา เป็นต้น เช่น ภาพดาวเทียมแสดงบริเวณของแม่น้ำ ทะเลน้ำแข็ง หิมะ ซึ่งเป็นข้อมูลที่จำเป็นในการพยากรณ์น้ำท่วม ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาบางดวงของสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ดาวเทียมไทรอส (TIROS ย่อมาจาก Television and Infrared Observation Satellite) ดาวเทียมนิมบัส (NIMBUS มาจากภาษาละตินแปลว่าเมฆ) ดาวเทียมเอสสา (ESSA ย่อมาจาก Earth or En-vironmental Survey Satellite) ดาวเทียมโนอา (NOAA ย่อมาจาก National Ocea-nographic and Atmospheric Administration) ดาวเทียมแอตส์ (ATS ย่อมาจาก Advanced Tech-nology Satellite)
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษและอเมริกันต่างได้ช่วยกันค้นคว้าสร้างเรดาร์ เพื่อตรวจหาตำแหน่งเครื่องบินและเรือรบของข้าศึก ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ช่วยให้ฝ่ายสัมพันธมิตรมีชัยชนะในสงครามได้ ในสมัยต่อมานักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า เรดาร์สามารถใช้ตรวจฝนและหิมะได้ ฉะนั้นนักอุตุนิยมวิทยาจึงได้อาศัยเรดาร์เป็นเครื่องมือตรวจการเคลื่อนตัวของพายุฟ้าคะนอง และพายุไต้ฝุ่นได้เป็นอย่างดี เรดาร์สามารถจับการเคลื่อนตัวของพายุไต้ฝุ่นได้เมื่อศูนย์กลางของพายุเข้ามาอยู่ในระยะ ๒๐๐ ถึง ๘๐๐ กิโล-เมตร (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกำลังของเรดาร์) เรดาร์เป็นเครื่องมือที่ค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อนมีแต่หลักการคือ เรดาร์ส่งคลื่นวิทยุที่มีความถี่สูงมากราว ๓,๐๐๐ เมกะเฮิรตซ์ มีความยาวคลื่นระหว่าง ๓ ถึง ๑๐ เซนติเมตร เมื่อคลื่นความถี่สูงนี้ไปกระทบเป้าหมายเข้า ก็จะสะท้อนกลับมายังเครื่องรับภาพ จากค่าความเร็วของคลื่นวิทยุซึ่งมีค่าเท่ากับความเร็วของแสงคือ ๓๐๐,๐๐๐ กิโลเมตร ต่อวินาทีกับระยะเวลาที่คลื่นเดินทางไปและกลับ เราก็สามารถหาระยะทางของเป้าว่าอยู่ห่างจากเครื่องรับเท่าไรได้เม็ดน้ำ (water droplets) และอนุภาคน้ำแข็ง (ice particles) ขนาดใหญ่สามารถสะท้อนคลื่นเรดาร์ได้โดยทั่วๆ ไปแล้ว สิ่งที่เป็นเป้าหมายขนาดใหญ่ๆ ก็สามารถสะท้อนคลื่นเรดาร์ได้ดี เช่น ลูกเห็บ เป็นต้น เรดาร์อุตุนิยมวิทยามีประโยชน์มากในการตรวจการเคลื่อนตัวของพายุฟ้าคะนอง พายุดีเปรสชัน หรือไต้ฝุ่น เมื่อนักอุตุนิยมวิทยาทราบทิศและความเร็วของการเคลื่อนตัวของพายุไต้ฝุ่นก็จะได้ออกประกาศเตือนให้ประชาชนทราบล่วงหน้า เพื่อจะได้เตรียมตัวป้องกันภัยอันตรายซึ่งอาจจะเกิดขึ้นให้ลดน้อยลงได้นอกจากนี้แล้วจากการวัดความแรง (strength) ของภาพสะท้อนที่จอเรดาร์จะช่วยให้เราสามารถคำนวณหาอัตราของปริมาณฝนที่ตกลงมาได้ด้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น